วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ใบงานที่3 ( Safari )
เรื่อง Web browser ที่นักเรียนชอบมากที่สุด
Safari ( ซาฟารี )
ซาฟารี (Safari) คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ สำหรับเครื่องแมคอินทอช โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Mac OS X รุ่น 10.3 เป็นต้นไป และสตีฟ จอบส์ ได้ประกาศในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เปิดตัวซาฟารีสำหรับวินโดวส์หน้าตาของซาฟารีมีลักษณะสีเงินวาว (brush metal) เหมือนกับลักษณะของ ซอฟต์แวร์เล่นเพลง ไอทูนส์ ซาฟารีรุ่นที่สองเรียกว่า Safari RSS ใช้ได้กับ Mac OS X รุ่น 10.4 ขึ้นไป
ซาฟารี ใช้ตัววาดหน้าเว็บชื่อ WebCore ซึ่งพัฒนามาจากตัววาดหน้าเว็บชื่อ เว็บคิต ที่พัฒนาต่อมาจาก KHTML ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซอฟต์แวร์เสรี KDE
ภาษาไทยกับระบบปฏิบัติการ Mac OS X เป็นตัวเลือกที่สามารถเลือกใช้งานได้ในส่วน System Preferences - International ซึ่งหากเลือกให้เครื่องที่เราใช้งานรองรับภาษาไทยแล้ว ซาฟารีก็จะแสดงผลภาษาไทยและตัดคำได้อย่างถูกต้อง .
ความสามารถพิเศษของซาฟารี
คุณสมบัติพื้นฐานของเว็บเบราว์เซอร์ ซาฟารี มีอยู่ด้วยกันหลายอย่างRSS Ready ซาฟารีสนับสนุนการเปิดดูข้อมูลที่เป็น XML โดยแสดงผลออกมาให้สามารถใช้งานได้ง่าย โดยยังสามารถปรับขนาดของคำอธิบายได้จากแถบ Article Length ได้ด้วยป้องกันป๊อปอัพ ซาฟารี มีความสามารถกันป๊อปอัพกันการแสดงหน้าจดแบบไม่พึงประสงค์ความเป็นส่วนตัว สามารถเปิดใช้งานความเป็นส่วนตัวได้โดยเลือกคำสั่ง Private Browsing โดยในระบบความเป็นส่วนตัวนี้ ซาฟารีจะไม่จดจำข้อมูลหลังจากที่เลือก Private Browsing ไว้ในประวัติการใช้งาน และเมื่อเลิกใช้เพียงแค่ปิดโปรแกรมแล้วเปิดใหม่ Private Browsing ก็จะปิดทำงานโดยอัตโนมัติแท็บเบราว์ซิง ซาฟารี รองรับการทำงานแท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) โดยผู้ใช้สามารถเปิดดูเว็บเพจหลาย ๆ อันภายในหน้าต่างเดียวกันได้เสิร์ชเอนจินในตัว ซาฟารี มีเสิร์ชเอนจิน ที่เชื่อมโยงกับ Googleการจัดการดาวน์โหลด ระบบการจัดการดาวน์โหลด มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถทำการหยุดและดาวน์โหลดต่อจากการหยุดครั้งก่อนได้การย้อนประวัติการใช้งานแบบเร็ว (SnapBack) โดยปกติหากต้องการย้อนประวัติการเปิดดูเว็บเพจ ในบางครั้งอาจจะต้องคลิกปุ่ม Back ย้อนหลังหลายครั้ง ซาฟารีจึงมีคำสั่ง Mark Page to SnapBack เพื่อย้อนกลับมายังเว็บเพจ ที่เราระบุไว้ได้ โดย SnapBack ยังทำงานอัตโนมัติกับเว็บเพจที่เราพิมพ์ URL เข้าไปใหม่เสมอตรวจดูประวัติการเข้าชมและบุ๊กมาร์ค โดยใช้ Clover Flow ทำให้ตวจดูประวัติและบุ๊กมาร์คได้ง่ายขึ้นเปลี่ยนไปใช้เอนจิน Nitro ทำให้โหลดจาวาสคริปต์เร็วกว่าเบราว์เซอร์อื่น ๆมีเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาเว็บ ซาฟารีสามารถตรวจสอบการใช้ทรัพยากรของหน้าเว็บนั้น ๆ ได้มีหน้าต่าง Top Sites ผู้ใช้สามารถเข้าหน้าเว็บที่โปรดปรานได้เร็วขึ้นขยายหน้าเว็บโดยใช้ Trackpad (เฉพาะรุ่นแมค) ซาฟารีใช้การควบคุมแบบ Multi-touch บนแมคระบบอ่านคำบนหน้าจอสำหรับคนพิการ (เฉพาะรุ่นแมค) ซาฟารีใช้ระบบช่วยเหลือคนพิการเพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เร็วขึ้นโอนถ่ายบุ๊กมาร์คโดยใช้ MobileMe สามารถโอนถ่ายบุ๊กมาร์คผ่าน MobileMe ไปยัง ไอโฟนและไอพอดได้ใช้ลักษณะตัวอักษรแบบวินโดว์ (เฉพาะรุ่นวินโดว์) ซาฟารีสามารถเปลี่ยนลักษณะเพื่อให้กลมกลืนกับลักษณะของวินโดว์
รุ่นที่เข้ากันได้
ระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุด
Mac OS 10.2 1.0.3 (13 สิงหาคม, พ.ศ. 2547)
Mac OS 10.3 1.3.2 (11 มกราคม, พ.ศ. 2549)
วินโดวส์ 2000 3.0.3 (1 สิงหาคม, พ.ศ. 2550)
Mac OS 10.4/10.5; วินโดวส์เอกซ์พี/วิสต้า 5.1.5 (26 มีนาคม, พ.ศ. 2555)
Mac OS 10.2 1.0.3 (13 สิงหาคม, พ.ศ. 2547)
Mac OS 10.3 1.3.2 (11 มกราคม, พ.ศ. 2549)
วินโดวส์ 2000 3.0.3 (1 สิงหาคม, พ.ศ. 2550)
Mac OS 10.4/10.5; วินโดวส์เอกซ์พี/วิสต้า 5.1.5 (26 มีนาคม, พ.ศ. 2555)
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ใบงานที่2
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
ตอบ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
2. การทำงานของเว็บเบราว์เซอร์
2. การทำงานของเว็บเบราว์เซอร์
ตอบ กลไกการทำงานของเว็บเพจ
สำหรับเว็บเพจธรรมดาที่โดยปกติมีนามสกุลของไฟล์เป็น htm หรือ html นั้น เมื่อเราใช้เว็บบราวเซอร์เปิดดูเว็บเพจใด เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งเว็บเพจนั้นกลับมายังบราวเซอร์ จากนั้นบราวเซอร์จะแสดงผลไปตามคำสั่งภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ที่อยู่ในไฟล์
จะเห็นได้ว่าเว็บเพจดังรูปเป็นเว็บเพจที่มีลักษณะ static กล่าวคือ ผู้ใช้จะพบกับเว็บเพจหน้าตาเดิมๆ ทุกครั้งจนกว่าผู้ดูแลเว็บจะทำการปรับปรุงเว็บเพจนั้น นี่คือข้อจำกัดอันมีต้นเหตุมาจากภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้อธิบายหน้าตาของเว็บเพจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ HTML สามารถกำหนดให้เว็บเพจมีหน้าตาอย่างที่เราต้องการได้ แต่ไม่ช่วยให้เว็บเพจมี "ความฉลาด" ได้
การสร้างเว็บเพจที่มีความฉลาดสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ การฝังสคริปต์หรือชุดคำสั่งที่ทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server-side script) ไว้ในเว็บเพจ
จากรูปเป็นการทำงานของเว็บเพจที่ฝังสคริปต์ภาษา PHP ไว้ (ขอเรียกว่า ไฟล์ PHP) เมื่อเว็บบราวเซอร์ร้องขอไฟล์ PHP ไฟล์ใด เว็บเซิร์ฟเวอร์จะเรียก PHP engine ขึ้นมาแปล (interpret) และประมวลผลคำสั่งที่อยู่ในไฟล์ PHP นั้น โดยอาจมีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือเขียนข้อมูลลงไปยังฐานข้อมูลด้วย หลังจากนั้นผลลัพธ์ในรูปแบบ HTML จะถูกส่งกลับไปยังบราวเซอร์ บราวเซอร์ก็จะแสดงผลตามคำสั่ง HTML ที่ได้รับมา ซึ่งย่อมไม่มีคำสั่ง PHP ใดๆ หลงเหลืออยู่ เนื่องจากถูกแปลและประมวลผลโดย PHP engine ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปหมดแล้ว
ให้สังเกตว่าการทำงานของบราวเซอร์ในกรณีนี้ไม่ต่างจากกรณีของเว็บเพจธรรมดาที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้เลย เพราะสิ่งที่บราวเซอร์ต้องกระทำคือ การร้องขอไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นก็รอรับผลลัพธ์กลับมาแล้วแสดงผล ความแตกต่างจริงๆ อยู่ที่การทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งกรณีหลังนี้ เว็บเพจที่เป็นไฟล์ PHP จะผ่านการประมวลผลก่อน แทนที่จะถูกส่งไปยังบราวเซอร์เลยทันที
การฝังสคริปต์ PHP ไว้ในเว็บเพจ ช่วยให้เราสร้างเว็บเพจแบบ dynamic ได้ ซึ่งหมายถึงเว็บเพจที่มีเนื้อหาสาระและหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละครั้งที่ผู้ใช้เปิดดู โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ เช่น ข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งมาให้ หรือข้อมูลในฐานข้อมูล เป็นต้น
3. ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ มา 3 โปรแกรม
ตอบ 1) อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer)
2) MSN Explorer
3) Windows Explorer (ใช้โมดูลบางตัวร่วมกันกับ Internet Explorer)
2) MSN Explorer
3) Windows Explorer (ใช้โมดูลบางตัวร่วมกันกับ Internet Explorer)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)